ไหว้พระ เที่ยววัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จ. สุราษฎร์ธานี

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani

หากใครเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นอกจากแหล่งของกินอาหารทะเลที่ขึ้นชื่อของจังหวัดแล้ว สถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาด Movetrip ชวนมาไหว้พระ เที่ยววัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปูนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง วัดพระบรมธาตุไชยา โบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นที่เคารพสักการะของพุทธสานิกชนทั่วไป สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด ความสำคัญของวัดพระบรมธาตุไชยา เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือเป็นพุทธสถานเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่ยังคงรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของช่างศิลปกรรมสมัยศรีวิชัยไว้ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้วัดพระบรมธาตุไชยาได้รับการเลื่อนฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500

องค์พระบรมธาตุไชยา เป็นเจดีย์ทรงปราสาทลักษณะสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัย ซึ่งเป็นองค์เดียวที่ยังอยู่ในสภาพที่ดีที่สุด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-15 แต่ไม่ปรากฎประวัติการสร้างและผู้สร้าง ลักษณะเดิมเป็นอิฐเผาไฟแกว่ง ไม่สอปูน แต่ใช้อิฐป่นละเอียดผสมกับการเป็นนายสอ แล้วขัดให้เรียบและสลักลายลงบนเนื้ออิฐ ส่วนฐานอยู่ต่ำกว่าผิวดินปัจจุบัน ซึ่งได้ขุดบริเวณรอบฐานเป็นสระมีน้ำขังอยู่ตลอดปี เนื่องจากมีตาน้ำพุขึ้นมาซึ่งถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำหรับใช้ทำพิธีกรรมต่างๆ ที่สำคัญของบ้านเมือง องค์พระบรมธาตุได้รับการบูรณะอย่างต่อเนื่องเสมอมา โดยทำการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบรมธาตุไชยาเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาในดินแดนแถบนี้มานับพันปี เป็นหลักฐานที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของบรรพชนในอดีต จึงเป็นหน้าที่ของอนุชนรุ่นหลังทุกคนที่ต้องทำนุบำรุงให้คงอยู่กับผืนแผ่นดินนี้ต่อไป

ประวัติวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-1

ประวัติวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ชื่อภาษาอังกฤษ (Wat Phra Borommathat Chaiya Ratchaworawihan) มีประวัติความเป็นมาคือ เป็นวัดที่เก่าแก่มากแห่งหนึ่งของไทย โดยสังเกตได้จากโบราณวัตถุ โบราณสถานที่ยังปรากฎให้เห็นอยู่จึงทำให้เราทราบได้ว่าวัดพระธาตุไชยาแห่งนี้มีมานานหลายยุคหลายสมัย โดยจะกล่าวถึงดังต่อไปนี้

สมัยทวารดี มีพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่เท่าคน และย่อมกว่าเหลืออยู่ในบริเวณจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ คือพระพุทธรูปปางสมาธิขนาดสูง 104 ซม. หน้าตักกว้าง 74 ซม. ทำด้วยสิลา ลักษณะประทับบนฐานบัวคว่ำบัวหลาย ขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทั้งสองวางหายซ้อนกัน ขมวดพระเกศาเป็นต่อมขนาดโต อุษณีย์ปรากฏไม่ชัด ไม่มีอูรณา จีวรบางแนบพระองค์มีแต่ขอบที่ห่อหุ้มอังสะซ้าย อายุราพุทธศตวรรษที่ 11-12 ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา พระพุทธรูปประทับยืน ซึ่งประทับยินบนฐานบัวลงลักปิดทองทั้งองค์ จีวรห่อคลุม ปลายจีวรตัดตรง รัดประคบมีลวดลาย ไม่มีพระรัศมี เม็ดพระเกศากลมใหญ่ ทำด้วยสิลา ขนาดสูง 142 ซม. ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา ด้วยเหตุนี้ท้ำให้เชื่อถือได้ว่าวัดนี้หรือสถานที่แห่งนี้มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยทราวดี คือระหว่าง พ.ศ. 1000-1200

สมัยศรีวิชัย มีองค์เจดีย์พระมหาธาตุแบบศรีวิชัย ปรากฏอยู่เป็นปูชนียสถาน อันศักดิ์สิทธิ์ โดยมิได้รับการดัดแปลงเว้นแต่ตอนส่วนยอด เพราะได้หักพังลงบมาและหายสาบสูญไปจึงทำใหม่เป็นศิลปะแบบไทยแล้วยังมีรูปสำริดของ ของพระอวโลกิเตศวลโพธิสัตว์ขนาดใหญ่ สวยงามเป็นชิ้นเอกของปฏิมากรรม สมัยนี้ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ในพิพิฑภัณฑสถานแห่งชาติพระนครและมีองค์ขนาดย่อมตลอดถึงที่ทำด้วยศิลาอีกหลายองค์ มีมากกว่าในสถานที่ใดๆในประเทศไทย รวมทั้งเศษหักพังของโบราณวัตถุสมัยเดียวกันอีกหลายชิ้น ดังนั้นทำให้เชื่อได้ว่าวัดนี้มีความเจริญรุ่งเรื่องอยู่ในสมัยศรีวิชัย คือระหว่าง พ.ศ. 1200-1500

สมัยสุโขทัย มีพุทธศิลป์เป็นแบบสกุลช่าง นครศรีธรรมราช โดยได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา ลัทธิเถวราท แบบลังกาวงศ์ มีหลักฐานปรากฏว่ามีใบพัทธสีมาคู่แฝดปรากฏอยู่รอบๆเขตพระอุโบสถเดิมของวัดทำให้เชื่อได้ว่าสมัยนี้ก็มีการปรับปรุงวัดหรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าในสมัยสุโขทัยซึ่งพ้องกับสมัยนครศรีธรรมราชนั้นวัดนี้ยังคงมีอยู่

สมัยกรุงศรีอยุธยา มีหลักฐานปรากฏมากมายกว่าสมัยใด คือ พระพุทธรูปเป็นพระพุทธรูปศิลาทรายแดงมีมากมายอย่างไม่น่าเชื่อ มีขนาดโตมากกว่าคนธรรมดา ลงมาถึงขนาดเท่าคน และย่อมกว่าแสดงให้เห็นศรัทธาหรือความรุ่งเรื่องของพุทธศาสนาอย่างสูงสุด ในสมัยนั้น ในสถานที่แห่งนี้

สมัยกรุงธนบุรี แม้นจะมีระยะสั้น แต่ก็เชื่อว่าวัดนี้คงเจริญรุ่งเรืองอยู่ โดยจะเห็นได้จากศิลาจารึกที่ใกล้ๆกัน แสดงถึงการทำนุบำรุง พุทธศาสนาในถิ่นทั่วๆ ไป แต่ว่าโบราณวัตถุที่สร้างขึ้น ในสมัยกรุงธนบุรีนี้มีน้อย และแบบที่สร้างขึ้นคงเหมือนแบบสมัยอยุธยานั้นเอง

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สันนิษฐานว่าวัดพระบรมธาตุไชยานี้คงจะรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่ถูทำลายโดยพวกพม่าข้าสึกในสมัยรัชกาลที่ 1 จนกระทั่งรางไปในที่สุดได้มาค้นพบและบูรณะขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระชยาภิวัฒน์สุภัทรสังฆปาโมกข์ เมื่อครั้งดำรงค์สมาณศักดิ์เป็นพระครูรัตนมุนีศรีสังฆาราชาลังกาแก้ว เจ้าคณะเมืองไชยา ระหว่าง พ.ศ. 2439 ถึง 2453 เป็นวัดที่ฟื้นคืนขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง การบูรณะที่สำคัญคือตกแต่งองค์พระบรมธาตุเจดีย์ แล้วฉาบปูนผิวบางๆทั่วทั้งองค์พร้องทั้งเสริมยอดที่หักไป มีการสร้างพระวิหารหลวงขึ้นมาใหม่ในที่เดิมและสร้างวิหารคดรอบบริเวณล้อมองค์พระเจดีย์และพระวิหารหลวงยกพระพุทธรูปที่เกลื่อนกลาดอยู่เข้าไปประดิษฐานในพระวิหารคดเสียใหม่จนเป็นที่เรียบร้อย ปริมณฑลพระวิหารคดที่ยกขึ้นในครั้งนั้นแคบเข้าของเดิมเพียงเล็กน้อย

ลองมาสำรวจอาณาเขตพุทธาวาส ที่มีกำแพงแก้วล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ด้านทิศเหนือและทิศใต้ มีกำแพงยาว 127 เมตร ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก มีกำแพงยาว 66 เมตร ภายในเขตพุทธาวาส ประกอบด้วยองค์เจดีย์พระบรมธาตุไชยา พระวิหารคดหรือระเบียงพระเวียน พระเจดีย์ พระอุโบสถ พระวิหารหลวง พระพุทธรูปสิลาทรายแดง ต้นพระสีมหาโพธิ์และพลับพลาที่ประทับ

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-2

บริเวณภายนอกกำแพงแก้ว

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-3

ทางเข้า วัดพระบรมธาตุไชยา อำเภอไชยา จ. สุราษฎร์ธานี

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-4

พระพุทธรูปทรายแดง 3 องค์

พระพุทธรูปทรายแดง 3 องค์ ประดิษฐานอยู่กลางแจ้งบนลานภายในกำแพงแก้ว อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยอยุธยา โดยฝีมือสกุลช่างไชยา อาสน์เป็นของทำใหม่โดยยกให้สูงขึ้น

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-11

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-12

พระวิหารหลวง

พระวิหารหลวง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกขององค์เจดีย์พระบรมธาตุไชยา สร้างยื่นล้ำเข้าไปในพระวิหารคด ในพระวิหารหลวงมีพระพุทธใหญ่น้อยหลายองค์ การบูรณะพระวิหารหลวงนั้น ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยท่านเจ้าคุณพระชยาภิวัฒน์ เมื่อ พ.ศ. 2444 โดยได้เปลี่ยนเครื่องไม้ต่างๆ ใหม่หมด หลังคา 2 ชั้น มีช่อฟ้า นาคสะดุ้ง มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ที่หน้าบันสลักลายดอกไม้เทศ พื้นประดับด้วยกระจกสีตามลวดลายปิดทองคำเปลว ฝาผนังใช้โบกปูนใหม่ทั้งหมด ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2502 พระราชชัยกวี เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุไชยาเป็นประธานในการบูรณะพระวิหารหลวง โดยรื้อพระวิหารหลังเก่าที่ชำรุดออกคงไว้แต่พระพุทธรูปและฝาผนังด้านหลังพระพุทธรูป ส่วนหน้าบันของเดิมนั้นได้นำไปแสดงไว้ในอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา ศาลานีลวัฒนานนท์พระวิหารหลวงที่สร้างขึ้นใหม่นี้ ได้เสริมฝาผนังให้สูงขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อยท้ายพระวิหารหลวงด้านตะวันตก เดิมเป็นห้องลับแล ได้ตัดออก เพื่อเป็นที่นมัสการพระบรมธาตุ แต่เนื่องจากเวลาฝนตกฝนจะสาด ทางวัดจึงปล่อยไว้เป็นห้องโถง เมื่อครั้งพระครูโสภณเจตสิการาม ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ของวัดขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2478 ก็ได้ใช้พระวิหารหลวงนี้เป็นสถานที่แสดงโบราณวัตถุต่างๆ ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลและประชุมคณะสงฆ์ ต่อมา พ.ศ. 2541 ได้บูรณะอีกครั้งหนึ่ง

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-5

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-6

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-7

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-8

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-9

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-10

พระวิหารคด

พระพุทธรูปในระเบียงวิหารคด พระระเบียงหรือพระวิหารคด โดยรอบเจดีย์พระบรมธาตุไชยาทั้งหมดมีแปลนเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวด้านละ 39 เมตร สูง 4 เมตร ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสกุลช่างไชยา ขนาดและปางต่างๆ รวมทั้งสิ้น 180 องค์ และมีพระเจดีย์ หอระฆัง รูปปั้นพระชยาภิวัฒน์ ผู้เป็นประธานในการบูรณะปฎิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยราชการที่ 5 หลังจากนั้นมีการบูรณะอีกเพียงเล็กน้อยบางสมัย พระระเบียงจึงได้ชำรุดทรุดโทรมลงตามกาลเวลา

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-13

ทางเดินไปยังพระวิหารคด เพื่อกราบสักการะพระบรมธาตุ

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-14

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-15

ประตูทางเข้า สลักลวดลายวิจิตรงดงาม

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-16

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-17

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-18

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-24

คำบูชา พระบรมสารีริกธาตุ (นะโมฯ 3 จบ)

อะหัง วันทามิ อิธะ ปะติฏฐิตา พุทธะธาตุโย โย โทโส โมหะจิตเตนะ วัตถุตตะเย กะโต มะยา โทสัง ชะมะถะ เม ภันเต สัพพะปาปัง วินัสสะตุ ตัสสานุภาเวนะ สะทา โสตถิ ภะวันตุ เม.

คำแปล ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบนมัสการ พระบรมสารีริกธาตุ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ประดิษฐานอยู่ ณ ที่นี้ แม้บาปทั้งปวง ที่เคยล่วงเกินด้วยใหลหลง ข้าพระองค์ขอขมาโทษ ได้ทรงโปรดงดโทษนั้น ให้มีอันวินาศสิ้นสูญไป ด้วยอานุภาพแห่งกุศลปผลบุญนี้ ขอให้ข้าพพระพุทธเจ้า ประสบแต่ความสุขสวัสดี ตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-19

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-20

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-21

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-22

Wat-Phra-Borommathat-Chaiya-Ratchaworawihan-Surat-Thani-23

พระอุโบสถ

พระอุโบสถตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกขององค์เจดีย์พระบรมธาตุ นอกกำแพงพระวิหารคดเริ่มสร้างประมาณ พ.ศ. 1335 เขตพัทธสีมากว้าง 13.15 เมตร ยาว 18.80 เมตร แต่เดิมนั้นมีใบพัทธสีมาเพียงใบเดียว เรียงรายรอบพระอุโบสถจนถึงสมัยพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทแบบลังกาได้แผ่เข้ามาในประเทศไทยประมาณ พ.ศ. 1800 พระสงฆ์ลังกาได้ทำพิธีผูกพัทธสีมาซ้ำลงในที่เดิมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้พระพุทธศาสนาบริสุทธิ์มีความมั่นคง และสมบูรณ์ยิ่งขึ้นวัดที่ได้ผูกพัทธสีมาซ้ำแล้ว จึงให้ปักใบพัทธสีมาเพิ่มขึ้นเป็นคู่แฝด โดยมากมักจะเป็นอารามหลวง ด้วยเหตุนี้ วัดพระบรมธาตุไชยาจึงมีใบพัทธสีมา 2 ใบ ดังปรากฎเห็นอยู่ในปัจจุบัน หลังจากท่านเจ้าคุณพระชยาภิวัฒน์ ได้ทำการบูรณะปฎิสังขรณ์พระบรมธาตุและพระวิหารคดแล้ว ทางวัดได้ทำการบูรณะซ่อมแซมอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวัดพระบรมธาตุไชยา ได้ยกฐานขึ้นเป็นพระอารามหลวงแล้ว ได้รับงบประมาณ เมื่อ พ.ศ. 2498 ทางวัดได้สร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ตรงที่เดิม แต่ขยายส่วนออกไปอีกยาวกว่าเดิมเล็กน้อยภายในพระอุโบสถมีพระประธานเป็นพระรูปศิลาทรายแดงปางมารวิชัยสมัยอยุธยา เบื้องหน้าพระประธานมีใบพัทธสีมาคู่ ซึ่งเป็นของเดิมแต่ครั้งพระอุโบสถหลังเก่า

การเดินทางมากราบไหว้และสักการะวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานีประมาณ 54 กิโลเมตร เดินทางโดยรถยนต์ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 41 และแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 4011 ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 2 กิโลเมตร

วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร แผนที่

ที่ตั้ง : วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เลขที่ 50 หมู่ 3 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

เบอร์โทร : 077 431090, 077 431402

เวลาเปิดทำการทุกวัน : วันจันทร์ – วันอาทิตย์ 08.00 – 16.00 น.

ดูเพิ่มเติมทำบุญเสริมดวง ไหว้พระธาตุประจำปีเกิด

ข้อมูล : suratthani.go.th