Movetrip ขอเชิญชวนเพื่อนๆ มาร่วมสนุกกับงานประเพณีสงกรานต์ เราได้รวบรวมสถานที่จัดงานประเพณีสงกรานต์ เล่นน้ำสงกรานต์ งานเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ ประจำปี 2559 ใครที่ยังไม่รู้จะสงกรานต์ปีนี้เที่ยวที่ไหนดี ลองหาสถานที่จัดงานเทศกาลสงกรานต์ยอดนิยมจากทั่วประเทศไทยมาให้ทุกคนได้ร่วมเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทย เล่นสาดน้ำกันอย่างสนุกสนาน เย็นชุ่มฉ่ำในทุกๆ พื้นที่ทั่วประเทศไทย
โดยเริ่มกันที่งานเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2559 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 15 เมษายน 2559 มาร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ของไทย รักเมืองไทยร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยไปพร้อมกัน
ประเพณีสงกรานต์ ถนนวิสุทธิกษัตริย์ กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2559 นับเป็นสถานที่จัดงานประเพณีสงกรานต์แห่งตำนาน งามตะการคู่พระนคร ถือเป็นต้นแบบของการประกวดเทพีสงกรานต์ซึ่งได้มีการจัดงานมาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 70 ปี
สถานที่จัดงาน บริเวณถนนวิสุทธิกษัตริย์ (สี่แยกบางขุนพรหม) ใต้สะพานพระราม 8 กรุงเทพมหานคร
สอบถามเพิ่มเติม โทร. สำนักงานเขตพระนคร 02 628 9068 หรือ 086 345 5836
ประเพณีสงกรานต์บางลำภู กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2559 เป็นการอนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์ให้ดำรงอยู่กับสังคมไทยตลอดไป โดยภายในงานจะมีพิธีอัญเชิญพระพุทธบางลำพูประชานาถจากวัดบวรนิเวศวิหาร มาประดิษฐาน ณ สวนสันติชัยปราการ เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำ เพื่อความเป็นสิริมงคล ร่วมทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ พิธีรดน้ำอวยพรผู้สูงอายุและการแสดงนาฏศิลป์
สถานที่จัดงาน บริเวณสวนสันติชัยปราการ ถนนพระอาทิตย์ กรุงเทพมหานคร
สอบถามเพิ่มเติม โทร. สำนักงานเขตพระนคร 02 628 9068
วันที่จัดงาน วันที่ 13 – 15 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ บริเวณถนนข้าวสาร กรุงเทพฯ
สอบถามเพิ่มเติม สำนักงานเขตพระนคร โทร. 0 2628 9068
วันที่จัดงาน วันที่ 13 – 15 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ บริเวณถนนสีลม กรุงเทพฯ
สอบถามเพิ่มเติม สำนักงานเขตบางรัก โทร. 0 2236 1395 ต่อ 6211
วันที่จัดงาน วันที่ 6 – 18 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ บริเวณถนนเจนจบทิศ, ลานน้ำพุพญานาค, ถนนประจักษ์ และบริเวณวัดโพธิ์ชัย (พระอารามหลวง) อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
เป็นรูปแบบสงกรานต์ที่ยิ่งใหญ่ ที่ผู้ร่วมงานสามารถร่วมแรงศรัทธาสรงน้ำพระหลวงพ่อพระใส พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดหนองคาย โดยขบวนแห่หลวงพ่อพระใสที่ยิ่งใหญ่และแห่ทั่วเมืองหนองคายนั้นจะปฏิบัติเพียงปีละหนึ่งครั้ง เพื่อให้ประชาชนทั้งชาวไทย ชาวลาว ได้ร่วมสรงน้ำพระเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองในเทศกาลสงกรานต์
กิจกรรมหลัก ขบวนแห่หลวงพ่อพระใส และกิจกรรมการทำบุญตักบาตรพระสงฆ์
สอบถามเพิ่มเติม ททท. สำนักงานอุดรธานี โทร. 0 4232 5406 – 7
วันที่จัดงาน วันที่ 13 – 14 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน บริเวณเวทีกลางน้ำหน้าสถานีขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอเมืองสุพรรณบุรี
รูปแบบงานประเพณีสงกรานต์ตามแบบฉบับของสงกรานต์ภาคกลางที่ควรสืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทยอันดีงามซึ่งเป็นอีกหนึ่งงานสงกรานต์ที่ยิ่งใหญ่ เพื่อให้ชาวสุพรรณบุรีและนักท่องเที่ยวได้มีความสุขและร่วมรักษาสืบสานประเพณีไทย
กิจกรรมหลัก การแต่งชุดไทยเล่นน้ำสงกรานต์ชมการประกวดขบวนแห่ประเพณีสงกรานต์เอกลักษณ์ชนพื้นถิ่นของแต่ละอำเภอ จำนวน 10 อำเภอขบวนแห่หลวงพ่อโตทองคำและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดสุพรรณบุรี การประกวดเทพีสงกรานต์ การแสดงดนตรีจากนักร้องชื่อดังของไทย การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และ การแสดงวงดนตรีจากนักเรียนโรงเรียนต่างๆ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดเวทีต่างๆ ฯลฯ
สอบถามเพิ่มเติ่ม ที่ทำการปกครองจังหวัดสุพรรณบุรี โทร. 0 3553 5380, ททท. สำนักงานสุพรรณบุรี โทร. 0 3552 5880, 0 3552 5867, 0 3552 5863-4
วันที่จัดงาน 12 – 16 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ บริเวณทั่วเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ประเพณีปี๋ใหม่เมือง หรือ ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง วันสงกรานต์ล้านนาในภาคเหนือ หรือที่เรียกว่า”ประเพณี ปี๋ใหม่เมืองหรือ ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” เริ่มโดยในวันที่ 13 เมษายน เรียกว่า”วันสังขานต์ล่อง”วันนี้ถือเป็นวันสิ้นสุดศักราชเก่าของชาวภาคเหนือซึ่งจะมีการจุดประทัดในช่วงเช้า เพราะมีความเชื่อแต่โบราณว่าเป็นการขับไล่สิ่งเลวร้ายในปีก่อนให้พ้นไป และในช่วงเย็นจะมีงานบุญขนาดใหญ่นั่นคือการแห่พระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองด้วย ในช่วงนี้จะมีทั้งชาวไทย ชาวต่างชาติมารวมตัวกันอย่างหนาแน่นเพื่อร่วมชมที่ได้ทั้งบุญและความสนุกสนาน จากนั้นในวันที่ 14 เมษายน ที่เรียกกันว่า “วันเนา” หรือ”วันเน่า”จะเป็นวันที่ห้ามด่าทอ ว่าร้ายผู้อื่นไม่เช่นนั้นจะทำให้โชคร้ายไปตลอดทั้งปี ส่วนในวันที่ 15 เมษายน”วันพญาวัน”หรือ”วันเถลิงศก”เป็นวันที่ชาวบ้านไปทำบุญตักบาตรเข้าวัด ฟังธรรม จากนั้นจะมีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในช่วงบ่าย พอถึงวันที่วันที่ 16 เมษายน “วันปากปี” ทุกคนก็จะพากันไปรดน้ำเจ้าอาวาสตามวัดต่าง ๆและรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เพื่อขอขมา โดยในวันที่ 17 เมษายน “วันปากเดือน” ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ ชาวบ้านจะทำการปัดตัว เพื่อส่งเคราะห์ต่าง ๆออกไป อันเป็นประเพณีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะทางภาคเหนือ หรือแผ่นดินล้านนาเท่านั้น
กิจกรรมหลัก ร่วมขบวนแห่และสรงน้ำ “พระพุทธสิหิงค์” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนาที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน รวมทั้งขบวนแห่ขนทรายเข้าวัด–ไม้ค้ำสะหลี (สะหลี หมายถึง ต้นโพธิ์)
สอบถามเพิ่มเติม ททท. สำนักงาน เชียงใหม่ โทร. 0 532 48604 – 5
วันที่จัดงาน วันที่ 12 – 16 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ บริเวณรอบคูเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
สอบถามเพิ่มเติม ททท. สำนักงานเชียงใหม่ โทร. 0 5327 6140-1
วันที่จัดงาน วันที่ 16 – 17 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ หอพระพุทธสิหิงค์ เกาะสีชัง ชายหาดบางพระ อำเภอสัตหีบ ชายหาดพัทยา และ บริเวณ พัทยาเหนือ-กลาง-ใต้ สวนสาธารณะลานโพธิ์ (นาเกลือ) และสวนสาธารณะ เทศบาลเมืองศรีราชา
สอบถามเพิ่มเติม ททท. สำนักงานชลบุรี โทร. 0 3842 7667, 0 3842 8750, 0 3842 39905
วันที่จัดงาน วันที่ 16 – 17 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ บริเวณชายหาดบางแสน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
งานประเพณีก่อพระทรายวันไหลบางแสน จังหวัดชลบุรี เป็นงานประเพณีที่ชาวตำบลแสนสุข ได้ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณ เดิมเรียกว่า งานทำบุญวันไหล คือ การที่สมาชิกในชุมชนของหมู่บ้านต่างๆ ได้มาทำบุญร่วมกันเนื่องในเทศกาลวันสงกรานต์หรือวันปีใหม่ของไทย แต่ในปัจจุบันการละเล่นและประเพณี ดั้งเดิมบางอย่างเริ่มจะสูญหายไปเทศบาลเมืองแสนสุขจึงได้อนุรักษ์ส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี และการละเล่นพื้นบ้านอันดีงามไว้ให้คงอยู่และเป็นที่รู้จักแพร่หลาย
กิจกรรมหลัก การประกวดและก่อพระทรายตลอดชายหาดบางแสน การแข่งขันมวยทะเล การละเล่นพื้นบ้านและการเล่นน้ำสงกรานต์วันไหล
สอบถามเพิ่มเติม เทศบาลเมืองแสนสุข โทร. 0 3819 3509, ททท. สำนักงานพัทยา (ชลบุรี) 0 3842 7667, 0 3842 8750, 0 3842 3990
วันที่จัดงานจัดงาน วันที่ 5 – 15 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ บริเวณถนนข้าวเหนียว (ถนนศรีจันทร์) และบริเวณบึงแก่นนครอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
สอบถามเพิ่มเติม ททท. สำนักงานขอนแก่น โทร. 0 4322 7714 – 6
วันที่จัดงาน วันที่ 11 – 13 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ บริเวณหาดป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
สอบถามเพิ่มเติม ททท. สำนักงานภูเก็ต โทร. 0 7621 1036, 0 7621 2213, 0 7621 7138
วันที่จัดงาน วันที่ 11 – 15 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 , ถนนเสน่หานุสรณ์ , ถนนธรรมนูญวิถี และวัดมหัตตมังคลาราม (วัดหาดใหญ่) อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา
สอบถามเพิ่มเติม ททท. สำนักงานหาดใหญ่ (สงขลา) โทร. 0 7423 1055
วันที่จัดงาน วันที่ 12 – 13 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ บริเวณชายหาดเฉวง อำเภอเกาะสุมย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สอบถามเพิ่มเติม เทศบาลนครเกาะสมุย โทร. 0 7742 1421-2, ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวเกาะสมุย โทร. 0 7742 0504, สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย โทร. 0 7742 6932
วันที่จัดงาน วันที่ 12 – 15 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ บริเวณถนนข้าวปุ้น และลานพนมนาคา เขตเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
สงกรานต์รื่นรมย์บุญปีใหม่ไทย- ลาว ตามแบบวัฒนธรรม 7 ชนเผ่าของชาวนครพนม ที่ยังคงหลงเหลือกลิ่นอายของวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นการรักษารูปแบบของประเพณีที่แสดงเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชาวนครพนม ร่วมตักบาตรข้าวเหนียววันปีใหม่ไทย กิจกรรมแข่งขันสะบ้าทอย พิธีตบปะทาย (ก่อเจดีย์ทราย) ไหว้พระธาตุประจำวันเกิด 7 วัน 8 พระธาตุ อิ่มอร่อยกับตลาดโบราณย้อนยุค และเล่นน้ำสงกรานต์ 7 ชนเผ่า พร้อมชมการแสดงวัฒนธรรม นอกจากนี้ที่ อำเภอเรณูนคร จะมีการฟ้อนรำผู้ไทที่มีความอ่อนช้อยงดงาม และความมีมนต์ขลังของพิธีบายศรีสู่ขวัญ ผูกข้อต่อแขน เพื่อต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมเยือน รวมทั้งขบวนแห่นางสงกรานต์ที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างยิ่งใหญ่งดงาม
กิจกรรมหลัก อ.เมืองนครพนม ร่วมตักบาตรข้าวเหนียววันปีใหม่ไทย การแข่งขันสะบ้าทอย พิธีตบปะทาย(ก่อเจดีย์ทราย) ไหว้พระธาตุประจำวันเกิด 7 วัน 8 พระธาตุ อิ่มอร่อยกับตลาดโบราณย้อนยุค และเล่นน้ำสงกรานต์ 7 ชนเผ่า พร้อมชมการแสดงวัฒนธรรม
อ.เรณูนคร ร่วมชมการฟ้อนผู้ไท พิธีบายศรีสู่ขวัญ ผูกข้อต่อแขน ขบวนแห่นางสงกรานต์สาวผู้ไทเรณูนครชมการละเล่นพื้นบ้านชาวผู้ไท ชิมอาหารพื้นเมือง การจำลองวิถีชีวิตของชาวผู้ไท และการประกวดสาวงามเรณูนคร ณ บริเวณถนนวัฒนธรรม เทศบาลตำบลเรณูนคร
สอบถามเพิ่มเติม ททท. สำนักงานนครพนม โทร. 0 4251 3490 – 1
วันที่จัดงาน วันที่ 11 – 15 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ บริเวณสวนศรีธรรมมาโศกราชและหอพระอิศวร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ประเพณีแห่นางดาน เป็นประเพณีทางศาสนาพราหมณ์ เป็นส่วนหนึ่งของประเพณีตรียัมปวายหรือประเพณีโล้ชิงช้า ถือเป็นการอัญเชิญเทพชั้นรอง3องค์มารอรับเสด็จพระอิศวรที่จะเสด็จลงมายังโลกมนุษย์ ในช่วงเดือนยี่ของทุกปี เชื่อกันว่าเป็นการประสาทพรให้มีความสุขสบายคุ้มครองบ้านเมืองให้ปลอดภัย ดังนั้นในเทศกาลสงกรานต์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชจึงมีรูปแบบแตกต่าง เนื่องจากเป็นศูนย์กลางศาสนาและวัฒนธรรม ทั้งทางศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ ซึ่งมีหลักฐานชี้ชัดถึงความยิ่งใหญ่ในอดีต โดยเฉพาะพระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งเป็น ปูชนียสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองมีพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญเมืองชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ในวันสงกรานต์ถือเป็นประเพณีปฎิบัติที่สืบเนื่องมาแต่โบราณเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่มีคุณค่าต่อสังคม ครอบครัวศาสนาและวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การสานต่อเพื่อคงไว้ซึ่งประเพณีที่ดีงาม
กิจกรรมหลัก ขบวนแห่นางดาน
สอบถามเพิ่มเติม เทศบาลนครศรีธรรมราช โทร. 0 7534 2880 – 2, ททท. สำนักงานนครศรีธรรมราช โทร. 0 7534 6515 – 6
วันที่จัดงาน วันที่ 13 – 15 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน บริเวณถนนศรีสรรเพชญ์ บริเวณด้านหน้า ททท. พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เล่นน้ำสงกรานต์ในอุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลก เป็นสงกรานต์แห่งเดียว ในโลกที่นักท่องเที่ยวได้ร่วมเล่นน้ำร่วมกับช้าง(นักท่องเที่ยวสามารถมาเล่นน้ำกับช้าง ณ บริเวณด้านหน้า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพระนครศรีอยุธยา)
กิจกรรมหลัก สรงน้ำพระพุทธรูป และก่อเจดีย์ทราย, การละเล่นน้ำสงกรานต์กับช้าง, สนุกสนานกับรำวงย้อนยุค สอบถามเพิ่มเติม ททท. สำนักงานพระนครศรีอยุธยา โทร. 0 3524 6076 – 7
วันที่จัดงาน วันที่ 13 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน บริเวณถนนหน้าเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กิจกรรมหลัก ทำบุญใส่บาตรข้าวสารอาหารแห้ง บริเวณด้านหน้าวิหารพระมงคลบพิตร, ชมขบวนช้าง การประกวดขบวนแห่รถบุปผชาติที่สวยงาม, การละเล่นน้ำสงกรานต์
สอบถามเพิ่มเติม เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา โทร. 0 3525 2168
วันที่จัดงาน วันที่ 14 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน บริเวณวัดทองบ่อ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กิจกรรมหลัก สรงน้ำพระจากรางไม้ไผ่แห่งเดียวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ทำบุญใส่บาตร, ชมขบวนแห่หงส์ธงตะขาบ (โน่) วัฒนธรรมประเพณีของชาวรามัญรอบหมู่บ้านและรอบพระเจดีย์ และห่มผ้าเจดีย์วัดทองบ่อ
สอบถามเพิ่มเติม องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ โทร. 0 3535 0125
วันที่จัดงาน วันที่ 22 – 24 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ประเพณีสงกรานต์พระประแดง หรือเดิมเรียกว่า “สงกรานต์ปากลัด” เป็นรูปแบบสงกรานต์ที่คงรักษาวัฒนธรรมของชาวรามัญ – ไทยที่สืบทอดกันมาแต่โบราณเอกลักษณ์ของสงกรานต์พระประแดงโดยเฉพาะในวันท้ายของสงกรานต์ (ถัดจากวันที่ 13 เมษายนอีกหนึ่งอาทิตย์) ทุกหมู่บ้านจะรวมใจกันจัดขบวนแห่ที่มีความยิ่งใหญ่และความสวยงามตระการตาของขบวนแห่นางสงกรานต์ ขบวนรถบุปผาชาติ ขบวนสาวรามัญ – หนุ่มลอยชาย ที่ยังคงรักษาประเพณีเก่าๆไว้อย่างมั่นคงตลอดถึงเอกลักษณ์การแต่งกายด้วยชุดไทยรามัญ และชุดลอยชาย เพื่อแห่นก – แห่ปลาไปทำพิธีปล่อยนก – ปล่อยปลา ณ พระอารามหลวงวัดโปรดเกศเชษฐาราม ซึ่งถือเป็นการสะเดาะเคราะห์ทำให้อายุยืนยาว เมื่อเสร็จสิ้นพิธีแล้วระหว่างเดินทางกลับบ้านก็จะมีหนุ่มในหมู่บ้านต่าง ๆ ออกมาเล่นสาดน้ำกับสาว ๆ ด้วยกิริยาท่าทีที่สุภาพรดแต่พองาม ซึ่งท่านผู้สนใจควรจะได้ไปชมด้วยตนเองซึ่งชาวพระประแดงได้รักษาประเพณีไว้โดยเคร่งครัดตลอดมา จนถึงทุกวันนี้
กิจกรรมหลัก ชมการประกวดนางสงกรานต์พระประแดงและหนุ่มลอยชาย, ขบวนแห่นก- แห่ปลา, ชมขบวนแห่นางสงกรานต์และขบวนรถบุปผชาติ, การละเล่นพื้นบ้านตามวัฒนธรรมชาวรามัญแต่ดั้งเดิม (การละเล่นสะบ้า), ประเพณีการกวนกาละแม (กวันฮะกอ)
สอบถามเพิ่มเติม เทศบาลเมืองพระประแดง โทร. 0 2463 4841, ททท. สำนักงาน. กรุงเทพมหานคร โทร. 0 2276 2720 – 21
วันที่จัดงาน วันที่ 12 – 17 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ วัดวังก์วิเวการาม และลานหน้าเจดีย์พุทธคยา อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
“สะพานแห่งศรัทธา พระเดินบนหลังคน สงกรานต์สังขละบุรี” สัมผัสกับประเพณีสงกรานต์อันงดงามของชาวมอญ ในช่วงเช้ามีการทำบุญใส่บาตร โดยจะเห็นภาพชาวมอญที่เดินทูนถาดอาหารไว้บนศีรษะเพื่อนำไปถวายพระช่วงเย็นชมการขนน้ำไปอาบน้ำให้พ่อแม่ และผู้สูงอายุที่ไปถือศีลอยู่ประจำที่วัด และการขนทรายใส่ถุง หรือภาชนะเทินไปบนศีรษะ เพื่อนำไปก่อพระเจดีย์ทรายที่ลานหน้าเจดีย์พุทธคยา โดยในวันสรงน้ำพระ (ปี 2559 ตรงกับวันที่ 17 เม.ย.) ชมการสรงน้ำพระตามแบบประเพณีของชาวมอญ ซึ่งเป็นการสรงน้ำผ่านรางกระบอกไม้ไผ่ที่นำมามัดรวมต่อ ๆ กัน เมื่อถึงเวลาสรงน้ำพระในพิธีชาวบ้านผู้ชายจะพร้อมใจกันนอนเรียงต่อ ๆ กันเป็นสะพานมนุษย์ เพื่อให้พระเถระเดินย่ำไปบนหลังจนถึงบริเวณที่นั่งสรงน้ำ และหลังจากสรงน้ำเสร็จ ชาวบ้านผู้ชายก็จะช่วยกันอุ้มพระไปส่งที่บันได สำหรับในช่วงเช้าวันที่ 18 เม.ย. ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ ยังมีพิธีแห่กองผ้าป่า และพิธียกฉัตรเจดีย์ทราย ความยาวนับกิโลเมตร ที่น่าตื่นตาตื่นใจให้ชมอีกด้วย
กิจกรรมหลัก ศึกษาความเชื่อเรื่องพิธีหม้อมงคล, การเข้าวัดถือศีล, อาบน้ำพ่อแม่ผู้สูงอายุยามเย็น ที่วัด และการขนทรายไปร่วมก่อเจดีย์ของชาวมอญ (วันที่ 17 เมษายน 2559 ตั้งแต่วันที่ 09.00 น.)
พิธีสรงน้ำพระ ผ่านรางกระบอกไม้ไผ่ ชมขบวนพระสงฆ์เดินเหยียบไปบนหลังคน (วันที่ 16 เมษายน 2559 ตั้งแต่เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป)
พิธีแห่กองผ้าป่า ยกฉัตรเจดีย์ทราย และทำบุญกรวดน้ำ (วันที่ 17 เมษายน 2559 ตั้งแต่เวลา 09.00 น.)สอบถามเพิ่มเติม ปลัดมานพ เทศบาลตำบลวังกะ โทร. 08 1010 7234, เทศบาลตำบลวังกะ โทร. 0 3459 5093, ททท. สำนักงานกาญจนบุรี โทร. 0 3451 1200, 0 3451 2500
1. งานประเพณีแห่ช้างบวชนาคไทยพวน บ้านหาดเสี้ยว
วันที่จัดงาน วันที่ 7 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ วัดหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
2. งานประเพณีสรงน้ำโอยทาน สงกรานต์ศรีสัชนาลัย
วันที่จัดงาน วันที่ 8 – 12 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
3. งานสงกรานต์มหามงคล น้ำมนต์ทะเลหลวง ประจำปี 2559
วันที่จัดงาน วันที่ 9 – 11 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ ทุ่งทะเลหลวง อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
4. งานประเพณีสงกรานต์ และ เทศกาลอาหารเมืองสวรรคโลก
วันที่จัดงาน วันที่ 11 – 15 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ เวทีการแสดงกลางแม่น้ำยม หน้าวัดสว่างอารมณ์วรวิหาร อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
5. งานย้อนอดีตมหาสงกรานต์ กรุงสุโขทัย
วันที่จัดงาน วันที่ 12 – 14 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
6. งานประเพณีสงกรานต์เสื้อลายดอก ถนนข้าวตอกสุโขทัย
วันที่จัดงาน วันที่ 12 – 15 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ บริเวณเมืองสุโขทัยและสวนสาธารณสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
7. งานมหาสงกรานต์ กรุงสุโขทัย ร้อยดวงใจ สรงน้ำพระอจนะ เทิดพระบุญดวงแก้วแห่งแผ่นดิน
วันที่จัดงาน 12 – 16 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ วัดศรีชุม อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
สอบถามเพิ่มเติม โทร 0 5569 7310
8. งานประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮง สรงน้ำเจ้าหมื่นด้ง
วันที่จัดงาน วันที่ 17 -19 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ บริเวณอนุสาวรีย์เจ้าหมื่นด้ง ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
สอบถามเพิ่มเติม ททท. สำนักงานสุโขทัย โทร. 0 551 6228 – 9
เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ ประจำปี 2559 เที่ยวกันให้สนุกคึกคักต้อนรับสงกรานต์ แชร์หรือกด Like บอกต่อกันได้เลย
ที่มา : tourismthailand.org